จังหวัดสตูลเป็นตำบล (มูเก็ม) หนึ่งของเมืองเคดาห์หรือเคดะห์ หรือเมืองไทรบุรีดังนั้นประวัติของจังหวัดสตูลจึงเกี่ยวพันกับประวัติของเมืองไทรบุรี มาตลอดจนกระทั่ง พ.ศ.2452 สตูลจึงได้ถูกตั้งขึ้นเป็นเมืองจัตวาขึ้นกับมณฑลภูเก็ตและเมื่อประเทศเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตยจึงได้ถูกยกฐานะ
เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนี้ |
ชื่อ สตูล นั้นเป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า สโตย ในภาษามลายูซึ่งแปลว่า กระท้อน หรือต้นกระท้อนก็น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เพราะสมเหตุสมผลและนักค้นคว้าภาษาศาสตร์ก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่าไม่มีคำอื่นใดที่น่าจะให้ความชัดเจนกว่านี้
ชาว-มาเลย์เองทั้งสมัยก่อนและสมัยปัจจุบันก็เรียกจังหวัดสตูลว่า นัครีสโตย เช่นกันถ้าจะย้อนกล่าวถึงประวัติดินแดนแห่งนี้ให้ละเอียดก็น่าจะเริ่ม ต้นตอนที่พระยาไทรบุรี(ปังแงรัน) ขัดแย้งกับปลัดเมืองคือพระยาอภัยนุราช (ตนกูบัศนูหรือบัศนู) เรื่องการไม่ยอมอ่อนน้อมต่อกันด้วยศักดิ์ศรี จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงรับสั่งโปรดให้พระยาพัทลุง (ทองขาว) ไปไกล่เกลี่ยแต่ไม่สำเร็จพระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยนุราช (ปิศนู) มาปกครองเมืองสโตยซึ่งหลังจากนั้น 2 ปี ท่านก็ถึงแก่กรรม ไม่ปรากฎว่าท่านได้สร้างอะไรไว้บ้าง เพราะตามจดหมายเหตุได้บอกไว้ว่าพระยาอภัยนุราชได้เดินทางมาระหว่างเมืองสโตยกับเมืองไทรบุรี เป็นประจำมิได้เอาใจใส่ในการปกครองบ้านเมืองสโตยมากนัก เรื่องราวของเมืองสโตยหลังจากพระยาอภัยนุราชถึงแก่กรรมก็เงียบหาย ไปมิได้ถูกกล่าวถึงอีก จะมีกล่าวถึงก็เมืองไทรบุรเท่านั้น เช่นเรื่องมีการกบฎเกิดขึ้นคือคนกูเด็นแข็งข้อในปี พ.ศ. 2373 และกบฎมะหะหมัดสอัด พ.ศ. 2381 เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อความทรงทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 3 ก็ทรงโปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัด) ออกไปปราบ แต่พอยกทัพไปถึงเมืองสงขลาก็ได้ทราบว่ากองทัพเมืองนครศรีธรรมราชและกองทัพเมืองพัทลุงยกตีจนได้เมืองไทรบุร
ีคืนมาแล้วจึงได้ดำริกราบทูลให้จัดปกครองเมืองไทรบุรีและเมืองย่อยต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการดูแล คือ |
1.ยกตำบลสโตยเป็นเมืองสโตย และกราบทูลให้ทรงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ตนกูมูฮัมหมัดอาเกบ บุตรพระยายนุราช เป็นเจ้าเมืองปกครอง |
2.ยกตำบลเปอร์ลิส เป็นเมืองเปอร์ลิส มีไซยิด ฮูเศ็น เป็นเจ้าเมือง |
3. ยกเมืองเคดาห์ (ไทรบุรี) ให้ตนกูอานุมเป็นเจ้าเมือง จน พ.ศ. 2384 |
เจ้าพระยาไทรบุรี (ปังแงรัน) ซึ่งเคยขัดแย้งกับพระยาอภัยนุราช (ปิศนู) และหนีราชภัยไปพำนักที่เมืองมะละกา ได้กลับมาเมืองไทรบุรีก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเป็นพระยาไทรบุรีตามเดิม ให้ตนกูอานุมไปปกครองเมืองกูปังปาซู ซึ่งเป็นเมืองใหม่จากตำบลหนึ่งของไทรบุรีคือบูเก็มกูปังปาซู |
ในปี พ.ศ. 2382 ตอนที่ตนกูมูฮัมหมัดอาเกบ ได้รับพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสโตยนั้น ก็ได้ยศบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยนุราช ชาติรายาภักดีอินทรวิยาสตูล และได้ปกครองเมืองสโตย จนสามารถการค้าขายเจริญรุ่งเรืองจนมีอำนาจครอบครองหมู่เกาะต่าง ๆ ในช่องแคบมะละกา จากชายฝั่งเมืองสโตย เมืองเปอร์ลิสจรดเกาะพีพี เมืองพังงา จนเมืองสโตยได้รับสมญานามว่า นครสโตย มัมบังซังคารา ซึ่งหมายถึง เมืองสโตยเจ้า (เทวดา) แห่งทะเล จังหวัดสตูลจึงได้พระสมุทรเทวาเป็นตราของจังหวัดจนถึงปัจจุบัน |
พระยาอภัยนุราช (มูฮัมหมัดอาเกบ) ปกครองเมืองสโตยได้ 37 ปี (พ.ศ.2382-2419) ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์มหันทราธิราชนุวัติสกลรัฐมหาปธานาธิการ ไพศาลสุนทรจิตสยามพิชิตภักดีจางวางเมืองสตูล และได้แต่งตั้งตนกูอิสมาแอลเป็นเจ้าเมืองสตูลแทนมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยนุราช ชาติรายาภักดีศรีอินทรวิทยาพระยาสตูล และโปรดเกล้าฯให้ตนกูอะหมัดเป็นพระยาอินทรวิชัย ตำแหน่งปลัดเมือง ส่วนตนกูอะหมัด มีหน้าที่ดูแลหมู่เกาะรังนกนางแอ่นและรายได้จากรังนกทั้งหมด |
ในปี พ.ศ. 2423 พระยาอินทรวิชัย (อะหมัด) เกิดบางหมางกับพี่ชายคือพระยาอภัยนุราช (อิสมาแอล) เกี่ยวกับพวกสมาชิกจีนอั้งยี่ ปล้นสดมภ์ทำลายประตูเมืองจึงชักชวนกูฮำหมัดพร้อมที่ปรึกษาชื่อเจ๊ะอาด พร้อมบริวารอพยพไปที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู ในปัจจุบันและที่นี่พระยาอินทรวิชัย (อะหมัด) ได้วางรากฐานการปกครองในเมืองละงูไว้ปรากฎหลังฐานจนเป็นที่นับถือของราษฎร์ในขณะนี้ |
พ.ศ. 2427 พระยาอภัยนุราช (อิสมาแอล) ถึงแก่อนิจกรรมหลังจากเป็นเจ้าเมืองอยู่ 9 ปี ผู้ที่ได้รับเป็นเจ้าเมืองคนต่อมา คือ ตนกูอับดุลเราะห์หมาน บุตรชายคนโต ซึ่งภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาอภัยนุราชเช่นเดียวกับบิดา |
ตนกูอับดุลเราะห์หมาน เจ้าเมืองคนใหม่นี้ขาดความเฉลียวฉลาด ไม่มีไหวพริบในการปกครองบ้านเมือง เจ้าเมืองไทรบุรีจึงให้อินทรวิชัย (อะหมัด) อับดุลฮำหมัด ซึ่งอพยพ |
ไปอยู่ที่เมืองละงู กลับมาช่วยราชการที่เมืองสตูล โดยแต่งตั้งให้พระอินทรวิชัยเป็นกรรมกรเมืองสตูลและแต่งตั้งกูฮำหมัดเป็นฮากิม (ผู้พิพากษา) |
พระยาอภัยนุราช (อับดุลเราะห์หมาน) ปกครองเมืองสตูลอยู่ได้ 10 ปี เดเป็นโรคประสาทฟั่นเฟือนไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ทางราชการเมืองไทรบุรีจึงส่งกูเด็นบินกอแม๊ะ(ต้นตระกูลบินตำมะหงง) ข้าราชการฝ่ายปกครองให้มาช่วยราชการในปี พ.ศ. 2438 บุคคลผู้นี้เองที่ได้เริ่มต้นปรับปรุงเมืองสตูลทุก ๆ ด้านจนมีความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองเป็นรากฐานมาจนทุกวันนี้ |
หลังจากนั้น 3 ปี พระยาอภัยนุราช (อับดุลเราะห์หมาน) ก็ถึงแก่กรรม ความสำคัญของกูเด็นบินกอแม๊ะก็มีมากขึ้นได้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าเมืองต่อมาจนถึง พ.ศ. 2440พระบาทสมเด็จพรุจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รวมเมืองไทรบุรี (อับดุลฮามิด) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนี้สืบไป มีอำนาจบังคับบัญชาเมืองเปอร์ลิส เมืองสตูล และให้กรรมการหัวเมืองทั้งสองฟังคำสั่งโดยขอบด้วยข้าราชการทุกประการ |
กูเด็นบินกอแม๊ะบริหารราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสตูลอย่างเดิม ความสามารถได้แบ่งส่วนราชการเพื่อความสะดวกในการปกครองเสียใหม่ตามแบบอย่างจากเมืองไทรบุรี จึงทำให้การปกครองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีชื่อเสียงปรากฎ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูลโดยสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ.2443 ลงไว้ในหนังสือราชการว่า ตนกูบาฮารุดดินบินกอแม๊ะ และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นหลวงอินทรวิชัย พระอินทรวิชัย และพระยาอินทรวัยตามลำดับ |
ในสมัยของตนกูบาฮารุดดิน เป็นเจ้าเมืองนี้ได้มีการปรับปรุงพัฒนาทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านมหาดไทย ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจ และด้านการคมนาคม ถือได้ว่าตนกูบาฮารุดดินเป็นเจ้าเมืองคนแรกของสตูลที่นำความเจริญในทุก ๆ ด้าน มาสู่สตูลอย่างรวดเร็วและทันสมัย พอจะสรุปแยกได้ ดังนี้ |
การคมนาคม จัดให้เดินสายโทรเลขระหว่างเมืองสตูลกับเมืองตรังผ่านอำเภอละงูและอำเภอทุ่งหว้า ทำถนนสายสตูลถึงควนเนียงปรับปรุงถนนในเมืองทุกสาย ซึ่งเป็นสายสำคัญให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ คือถนนจากตัวเมืองไปถึงท่าเรือเกาะนก ถนนสายเจ๊ะบิลัง ถนนสายฉลุงถึงวังประจัน ถนนสายคลองเส็นเต็น (ถนนสฤษภูมินาถ) ถนนจากสี่แยกไปทุ่งหว้าถึงท่าเรือเรียกว่าถนนท่าเภา (ท่าตะเภา) เพื่อสะดวกในการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้า |
การเศรษฐกิจ ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ชักชวนให้ราษฎรปลูกพริกไทยโดยเชิญชวนจีนจากเกาะปีนังมาทำสวนพริกไทยเป็นตัวอย่างที่อำเภอทุ่งหว้าถึง 7,000 คน ทำให้ทุ่งหว้าหรือสุไหงอุเปเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟแล่นเข้าเทียบท่าเดือนละหลายลำเรือเหล่านี้แล่นระหว่างเกาะปีนังกับอภเภอทุ่งหว้าเท่านั้น ทุ่งหว้าจึงมีความเจริญรองจากเมืองสตูล ดูเหมือนว่ามีสภาพคล้ายกับเมืองท่าสำคัญ มีงานมหกรรมเฉลิมฉลองบ่อยครั้ง ทุกครั้งจะมีมหรสพประเภท งิ้ว หุ่นจีน หนังตะลุง ลิเกป่า และมโนห์รา มาแสดงติดต่อกันคราวละหลาย ๆ คืน การเงินหมุนเวียนมหาศาลจากพ่อค้าชาวจีน ชาวญี่ปุ่น และชาวต่างประเทศชาติอื่น ๆมีการละเล่นการพนันทุกชนิด เล่ากันว่าเก็บค่าต๋งได้วันละเป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 บาท นอกจากการค้าแล้วเมืองสตูลยังมีรายได้จากการเก็บค่าภาษีผูกขาดหลายประการ เช่น ภาษีสุรา ฝิ่น โรงจำนำ ไข่เต่า ปลิงทะเล ค่าภาคหลวง ไม้ สินเข้าและสินค้าออก ภาษีที่ดิน เป็นต้น เมืองสตูลจึงรุ่งเรืองมากจะเห็นได้จากภาชนะของใช้ประเภทกระเบื้องเคลือบทุกชนิด ที่ใช้จวนเจ้าเมืองสตูลและที่ทุ่งหว้าให้สั่งพิเศษเป็นสีขาวและมีเครื่องหมายเป็นอักษรโรมันกำกับทุกชิ้น เช่น ของที่ใช้ในเมืองเขียนว่า หรือของใช้สำหรับทุ่งหว้าเขียนว่า |
การศาสนา จึงให้มีโต๊ะกอฎี(ผู้พิพากษา) เพื่อพิจารณาตัดสินเรื่องราวตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น กานีก๊ะ (สมรส) ดิละ (หย่าร้าง) รอเยาะ (การคืนดี) อาจจะจดทะเบียน ณ ที่ทำการของกอฎี นอกจากนั้นก็พิจารณาเรื่องครอบครองมรดกโดยอาศัยหลักการทางศาสนาอิสลาม พิจารณาตัดสินให้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องส่งศาลจังหวัดบังคับให้ปฏิบัติต่อไปโต๊ะกอฎี จึงเป็นผู้คอยแนะนำและตัดสินความให้เป็นไปตามหลักศาสนาบัญญัติ |
เนี่องจากได้จัดการปกครองเมืองสตูลด้วยความตั้งใจจนได้ผลทุกด้านพระยาอินทรวิชัย(กูเด็น) จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ความเจริญปรากฏในปลายของรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2451) เมืองไทยถูกบีบคั้นทางการเมืองจนเป็นเหตุให้ต้องยอมยกเมืองกลันตัน ตรังกานู รวมทั้งพื้นที่บางส่วนในมณฑลไทรบุรี คือ เมืองไทรบุรี เมืองเปอร์ลิส ให้อังกฤษครอบครอง สำหรับเมืองสตูล (สโตย) นั้นเจ้าเมืองคัดค้าน มิยอมยกให้เด็ดขาดให้เหตุผลว่าเมืองสตูลมีเขตแดนติดต่อกับเมืองอื่น ๆ ในผืนแผ่นดินใหญ่หลายเมือง หากยอมยกให้ต่อไปหากอังกฤษ ไม่พอใจกับประเทศไทยเกิดพิพาทขึ้นอีกเราจะเสียทีเขาเพราะยากแก่การป้องกัน เรื่องนี้อังกฤษไม่พอใจมากนอกจากสภาพทางภูมิศาสตร์แล้ว สตูลนั้นมีทรัพย์ในดินสินในน้ำมากมายและที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือประชาชนมีความศรัทธาในผืนแผ่นดินแม่ จึงไม่ยอมอยู่ใต้ความปกครองของชาติอื่น เมืองสตูลจึงต้องมาขื้นกับมณฑลภูเก็ตตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2542 โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศภิบาล ซึ่งเป็นผู้คอยชี้ทางแนะนำ |
เมืองสตูลอยู่เขตการปกครองของมณฑลภูเก็ต จนกระทั่งการคมนาคมระหว่างสตูลกับสงขลาซึ่งเป็นที่ตั้งศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช มาก่อน ดังนั้นจึงมีพระบรมราชโองการโอนเมืองสตูลจากมณฑลภูเก็ตมาอยู่ในบังคับบัญชาของมณฑลนครศรีธรรมราชอีกครั้ง และเมื่อประเทศเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ. 2475 รัฐบาลชได้ประกาศให้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 จึงได้เปลี่ยนเขตการปกครองใหม่โดยให้เขตจังหวัดเป็นเขตการปกครองในส่วนภูมิภาคตั้งแต่นั้นมา เมืองสตูลจึงเป็นจังหวัดหนึ่งขึ้นตรงต่อส่วนกลางเช่น จังหวัด อื่น ๆ จนถึงปัจจุบั |
|